บทสะท้อนจากงานศึกษาเกี่ยวกับการสร้างพรมแดนทางชาติพันธุ์

          บทความเรื่อง Maintaining ethnic boundaries in "non-ethnic" contexts: constructivist theory and the sexual reproduction of diversity มาจากงานวิจัยของ Z. Ozgen ที่ได้ศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพรมแดนทางชาติพันธุ์ (ethnic boundary) ในพื้นที่ Antioch ประเทศตุรกี พื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายในทางศาสนา…

Continue Readingบทสะท้อนจากงานศึกษาเกี่ยวกับการสร้างพรมแดนทางชาติพันธุ์

บทความแนะนำหนังสือ เบื้องหลังรูปเคารพ คติความเชื่อรูปแทนบุคคลในสยาม ๒๕๕๘

เบื้องหลังรูปเคารพ คติความเชื่อรูปแทนบุคคลในสยาม ๒๕๕๘ มุ่งอธิบายพัฒนาการและจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ในการสร้าง “รูปแทนบุคคล” ในสังคมสยาม นับตั้งแต่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการสร้างรูปแทนบุคคล อันกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างอนุสาวรีย์รูปแทนบุคคลที่แพร่หลายในกาลต่อมา อีกทั้งมุ่งถกเถียงว่า คำอธิบายที่ผ่านมาเกี่ยวกับการสร้างรูปแทนบุคคลที่มุ่งพิจารณาเพียงว่ารูปแทนบุคคลนั้นเหมือนหรือไม่เหมือนมนุษย์ไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจกับรูปแทนบุคคล เพราะว่ารูปแทนบุคคลในแต่ละยุคสมัยนั้นแฝงด้วยแนวความคิดความเชื่อหลายประการ เกินกว่าจะพิจารณาแค่ว่ารูปแทนบุคคลนั้นๆ เหมือนหรือไม่เหมือนมนุษย์ (น.๓) ในเชิงวิธีวิทยาและแนวทางการวิเคราะห์ หนังสือนี้เสนอว่า รูปแทนบุคคลแต่ละแบบมีบทบาทที่เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก ทั้งแนวคิดและค่านิยมอุดมการณ์ที่กำกับอยู่เบื้องหลังการสร้างรูปแทนบุคคลในแต่ละยุคที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง (น.๔) continue reading

Continue Readingบทความแนะนำหนังสือ เบื้องหลังรูปเคารพ คติความเชื่อรูปแทนบุคคลในสยาม ๒๕๕๘

ทักษะวิทยาการแบบเปิดสำหรับนักวิจัยและนักสารสนเทศ (Open Science Skills for Researchers and Information Professionals)

ความหมายและความสำคัญของทักษะวิทยาการแบบเปิดสำหรับนักวิจัยและนักสารสนเทศ ทักษะวิทยาการแบบเปิด เป็นทักษะทางสารสนเทศศาสตร์ ที่มีความสำคัญต่อนักวิจัยและนักสารสนเทศ เนื่องจากทักษะวิทยาการแบบเปิดเป็นทักษะการสื่อสารทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นการทำวิจัย จนถึงการเผยแพร่ผลงานวิจัย คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้นิยามความหมายของวิทยาการแบบเปิด (Open Science) ว่าเป็นวิธีการใหม่ของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นความร่วมมือในการทำงานวิจัยที่ต้องเผยแพร่ข้อมูลการทำวิจัย เป็นวิธีการใหม่ในการเผยแพร่ความรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและใช้เทคโนโลยีความร่วมมือแบบใหม่ แนวคิดนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยที่เคยทำในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา โดยยกระดับแนวปฏิบัติของมาตรฐานการตีพิมพ์ผลการวิจัยในสิ่งตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ผ่านการแบ่งปันข้อมูลและใช้ความรู้ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นของกระบวนการวิจัย วิทยาการแบบเปิดจึงเป็นแนวปฏิบัติของวิทยาการที่ทุกคนสามารถร่วมมือและสนับสนุนให้ข้อมูลวิจัยและบันทึกข้อมูลในห้องปฏิบัติการในระหว่างกระบวนการวิจัยสามารถเผยแพร่ได้ ภายใต้นิยามของการใช้ข้อมูลซ้ำได้ การเผยแพร่ซ้ำ และการผลิตซ้ำของงานวิจัย ทั้งในส่วนของข้อมูลและวิธีการ หลักการสำคัญของวิทยาการแบบเปิด มีความสำคัญต่อสังคมโดยรวมที่ควรได้รับประโยชน์จากงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐ โมเดลนวัตกรรมเปิดควรได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยให้กลุ่มเป้าหมายไม่เพียงแต่นักศึกษาและนักวิชาการเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ประกอบการในวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงผลงานวิจัยได้ ตามมาตรา…

Continue Readingทักษะวิทยาการแบบเปิดสำหรับนักวิจัยและนักสารสนเทศ (Open Science Skills for Researchers and Information Professionals)