คลังสารสนเทศดิจิทัลของหน่วยงานต้นแบบที่ดำเนินงานตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีล

โครงการคัดเลือกมาตรฐานสากลในการจัดการข้อมูลผลการวิจัยในคลังสารสนเทศดิจิทัล: ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำมาตรฐานการจัดการข้อมูลผลงานวิจัยในคลังสารสนเทศและข้อกำหนดที่เป็นองค์ประกอบเพิ่มเสริมของมาตรฐานคอร์ทรัสซีลในการจัดการข้อมูลผลงานวิจัยในคลังสารสนเทศ และผลักดันให้มีหน่วยงานต้นแบบที่ให้บริการข้อมูลผลงานวิจัยตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีล และพัฒนาเครือข่ายการจัดเก็บข้อมูลผลงานวิจัยของหน่วยงานที่มีการจัดการข้อมูลตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีลเพื่อให้มั่นใจในความน่าเชื่อถือของข้อมูลผลการวิจัยในคลังสารสนเทศดิจิทัล ซึ่งมีกระบวนการจัดการข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูลที่ให้บริการ เพื่อสนับสนุนความโปร่งใสของข้อมูล (FAIR Data)ที่มาจากการวิจัยและเพื่อให้บริการการเข้าถึงข้อมูลผลการวิจัยได้ในระยะยาว ผลการดำเนินงานของโครงการฯ โดยการสนับสนุนของกองมาตรฐานการวิจัยฯ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติทำให้ประเทศไทยมีหน่วยงานต้นแบบที่ดำเนินงานตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีล และได้ยื่นขอการรับรองมาตรฐานคอร์ทรัสซีลแล้วจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คลังปัญญาจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร และคลังข้อมูลดิจิทัล วช.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และการมีเครือข่ายหน่วยงานต้นแบบที่มีแนวปฏิบัติที่ดีที่สามารถฝึกอบรมให้หน่วยงานอื่นในประเทศไทยที่สนใจพัฒนาคลังสารสนเทศให้มีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลได้ โดยมีการพัฒนาเว็บต้นแบบเครือข่ายไว้ให้หน่วยงานที่สนใจได้ศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามกระบวนการจัดเก็บข้อมูลผลการวิจัยตามมาตรฐานสากล และมีหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมเครือข่ายจำนวนมากกว่า 20 แห่ง…

Continue Readingคลังสารสนเทศดิจิทัลของหน่วยงานต้นแบบที่ดำเนินงานตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีล

ทักษะวิทยาการแบบเปิดสำหรับนักวิจัยและนักสารสนเทศ (Open Science Skills for Researchers and Information Professionals)

ความหมายและความสำคัญของทักษะวิทยาการแบบเปิดสำหรับนักวิจัยและนักสารสนเทศ ทักษะวิทยาการแบบเปิด เป็นทักษะทางสารสนเทศศาสตร์ ที่มีความสำคัญต่อนักวิจัยและนักสารสนเทศ เนื่องจากทักษะวิทยาการแบบเปิดเป็นทักษะการสื่อสารทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นการทำวิจัย จนถึงการเผยแพร่ผลงานวิจัย คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้นิยามความหมายของวิทยาการแบบเปิด (Open Science) ว่าเป็นวิธีการใหม่ของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นความร่วมมือในการทำงานวิจัยที่ต้องเผยแพร่ข้อมูลการทำวิจัย เป็นวิธีการใหม่ในการเผยแพร่ความรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและใช้เทคโนโลยีความร่วมมือแบบใหม่ แนวคิดนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยที่เคยทำในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา โดยยกระดับแนวปฏิบัติของมาตรฐานการตีพิมพ์ผลการวิจัยในสิ่งตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ผ่านการแบ่งปันข้อมูลและใช้ความรู้ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นของกระบวนการวิจัย วิทยาการแบบเปิดจึงเป็นแนวปฏิบัติของวิทยาการที่ทุกคนสามารถร่วมมือและสนับสนุนให้ข้อมูลวิจัยและบันทึกข้อมูลในห้องปฏิบัติการในระหว่างกระบวนการวิจัยสามารถเผยแพร่ได้ ภายใต้นิยามของการใช้ข้อมูลซ้ำได้ การเผยแพร่ซ้ำ และการผลิตซ้ำของงานวิจัย ทั้งในส่วนของข้อมูลและวิธีการ หลักการสำคัญของวิทยาการแบบเปิด มีความสำคัญต่อสังคมโดยรวมที่ควรได้รับประโยชน์จากงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐ โมเดลนวัตกรรมเปิดควรได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยให้กลุ่มเป้าหมายไม่เพียงแต่นักศึกษาและนักวิชาการเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ประกอบการในวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงผลงานวิจัยได้ ตามมาตรา…

Continue Readingทักษะวิทยาการแบบเปิดสำหรับนักวิจัยและนักสารสนเทศ (Open Science Skills for Researchers and Information Professionals)