คลังสารสนเทศดิจิทัลของหน่วยงานต้นแบบที่ดำเนินงานตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีล
โครงการคัดเลือกมาตรฐานสากลในการจัดการข้อมูลผลการวิจัยในคลังสารสนเทศดิจิทัล: ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำมาตรฐานการจัดการข้อมูลผลงานวิจัยในคลังสารสนเทศและข้อกำหนดที่เป็นองค์ประกอบเพิ่มเสริมของมาตรฐานคอร์ทรัสซีลในการจัดการข้อมูลผลงานวิจัยในคลังสารสนเทศ และผลักดันให้มีหน่วยงานต้นแบบที่ให้บริการข้อมูลผลงานวิจัยตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีล และพัฒนาเครือข่ายการจัดเก็บข้อมูลผลงานวิจัยของหน่วยงานที่มีการจัดการข้อมูลตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีลเพื่อให้มั่นใจในความน่าเชื่อถือของข้อมูลผลการวิจัยในคลังสารสนเทศดิจิทัล ซึ่งมีกระบวนการจัดการข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูลที่ให้บริการ เพื่อสนับสนุนความโปร่งใสของข้อมูล (FAIR Data)ที่มาจากการวิจัยและเพื่อให้บริการการเข้าถึงข้อมูลผลการวิจัยได้ในระยะยาว ผลการดำเนินงานของโครงการฯ โดยการสนับสนุนของกองมาตรฐานการวิจัยฯ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติทำให้ประเทศไทยมีหน่วยงานต้นแบบที่ดำเนินงานตามมาตรฐานคอร์ทรัสซีล และได้ยื่นขอการรับรองมาตรฐานคอร์ทรัสซีลแล้วจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คลังปัญญาจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร และคลังข้อมูลดิจิทัล วช.สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และการมีเครือข่ายหน่วยงานต้นแบบที่มีแนวปฏิบัติที่ดีที่สามารถฝึกอบรมให้หน่วยงานอื่นในประเทศไทยที่สนใจพัฒนาคลังสารสนเทศให้มีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลได้ โดยมีการพัฒนาเว็บต้นแบบเครือข่ายไว้ให้หน่วยงานที่สนใจได้ศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามกระบวนการจัดเก็บข้อมูลผลการวิจัยตามมาตรฐานสากล และมีหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมเครือข่ายจำนวนมากกว่า 20 แห่ง…