หลักสูตรระดับปริญญาตรี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา
ชื่อหลักสูตร
- (ชื่อภาษาไทย) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา
- (ชื่อภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts Program in Thai Studies
ชื่อปริญญาและแขนงวิชา
- (ชื่อเต็มภาษาไทย) ศิลปศาสตรบัณฑิต (ไทยคดีศึกษา)
- (อักษรย่อภาษาไทย) ศศ.บ. (ไทยคดีศึกษา)
- (ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts ( Thai Studies )
- (อักษรย่อภาษาอังกฤษ) B.A. (Thai Studies)
ประเภทของหลักสูตร | หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ |
จำนวนหน่วยกิต | รวมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 126 หน่วยกิต |
ระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร | เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี (4 ปี) ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาไทยคดีศึกษา |
สถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอน | เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560 จากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) เริ่มใช้ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป |
การให้ปริญญา | ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว |
สถาบันผู้ประสาทปริญญา | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
ปรัชญาของหลักสูตร | หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตแขนงวิชาไทยคดีศึกษาจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด Constructivism โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน(Outcome-Based Education) เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีแขนงวิชาไทยคดีศึกษาและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สามารถประมวลความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับสังคม ภาษาและวัฒนธรรมไทยในลักษณะสหวิทยาการ สามารถนำความรู้ทางด้านสังคม ภาษา และวัฒนธรรมไปประยุกต์ในการดำเนินชีวิตและการทำงานได้ ทั้งยังสามารถ พินิจวิเคราะห์ วิจารณ์สังคมไทยในกระแสความเปลี่ยนแปลงได้ในระดับมาตรฐานของหลักสูตร |
เป้าหมาย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา มุ่งจัดการศึกษาในระบบการเรียนการสอนทางไกล เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตสำหรับทุกคน และเพื่อให้เกิดความรู้รอบและเข้าใจสังคมวัฒนธรรมไทยในแง่มุมต่าง ๆ วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตซึ่งมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.3.1 มีความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยในลักษณะสหวิทยาการ 1.3.2 สามารถพินิจวิเคราะห์ วิจารณ์สังคมไทยในกระแสความเปลี่ยนแปลงได้ 1.3.3 สามารถนำความรู้ไปใช้ประยุกต์ในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม 1.3.4 มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นพลเมืองไทยที่ดี | |
ระบบการศึกษา | จัดการศึกษาแบบเรียนทางไกล และออนไลน์ |
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ | กิจกรรมประจำชุดวิชา สอบไล่ |
1) บรรยายเนื้อหาโดยกระตุ้นให้คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ในการเรียนการสอน เช่น การสอนเสริมประจำภาค การสอนเสริมนัดหมาย
2) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการเชิญวิทยากรมาบรรยายพิเศษ เช่น การอบรมเข้มเสริมประสบการณ์วิชาไทยคดีศึกษา
3) มอบหมายให้ทำกิจกรรมโดยเน้นการเรียนรู้พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติฝึกปฏิบัติ ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามคุณลักษณะของชุดวิชา
4) แนะนำแหล่งเรียนรู้และการสืบค้นความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองนอกเหนือจากการเนื้อหาสาระของเอกสารการสอนชุดวิชา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
การศึกษาต่อ | ๑) กลุ่มงานวิชาการด้านภาษาและสังคมวัฒนธรรมไทย อาทิ นักวิจัย นักวิชาการ ผู้สอนภาษาไทยให้ชาวต่างประเทศ นักวิชาการทางวัฒนธรรม นักประวัติศาสตร์ ๒) กลุ่มงานด้านการสื่อสาร อาทิ เลขานุการ นักประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาด ๓) กลุ่มงานด้านสื่อสารมวลชนและการสร้างสรรค์เนื้อหา อาทิ นักพูด ผู้ประกาศ นักข่าว นักเขียน นักพิสูจน์อักษร บรรณาธิการ ครีเอทีฟ สามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาต่าง ๆ ได้ อาทิ สาขาภาษาไทย วรรณคดีไทย ภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา วรรณคดีเปรียบเทียบ นิเทศศาสตร์ ครุศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมศึกษา สหวิทยาการ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง |
–
PLOs | PLO 1 วิเคราะห์ความรู้ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมไทยตามหลักวิชาการได้ PLO2 วิเคราะห์พัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย รวมถึงปัญหาด้านสังคมและวัฒนธรรมไทยได้ PLO3 ประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยในการดำเนินชีวิตและการทำงาน และเผยแพร่ความรู้แก่สังคมเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมไทยได้ |
–