หลักสูตรระดับปริญญาตรี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
- (ชื่อภาษาไทย) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์
- (ชื่อภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts Program in Information Science
ชื่อปริญญาและแขนงวิชา
- (ชื่อเต็มภาษาไทย) ศิลปศาสตรบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์)
- (อักษรย่อภาษาไทย) ศศ.บ. (สารสนเทศศาสตร์)
- (ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts (Information Science)
- (อักษรย่อภาษาอังกฤษ) B.A. (Information Science)
ประเภทของหลักสูตร | หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ |
จำนวนหน่วยกิต | รวมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 120 หน่วยกิต |
ระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดการศึกษาด้วยระบบการศึกษาทางไกล โดยจัดสาระของหลักสูตรเป็นชุดวิชาที่บูรณาการเนื้อหาสาระและประสบการณ์ต่างๆ ของชุดวิชาที่มีความสัมพันธ์กันไว้ด้วยกันอย่างมีระบบในรูปของชุดการสอนเรียกว่า “ชุดวิชา” ซึ่งแต่ละชุดวิชามีค่าไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ทวิภาคของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ชุดวิชาหนึ่งแบ่งหน่วยการสอนออกเป็น 15 หน่วย แต่ละหน่วยการสอนใช้เวลาศึกษาประมาณ 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มหาวิทยาลัยจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งมี 2 ภาคการศึกษาปกติ แต่ละภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ในแต่ละภาคการศึกษานักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย 1 ชุดวิชา แต่ไม่เกิน 3 ชุดวิชา จนกว่าจะครบจำนวนชุดวิชาตามหลักสูตรในสาขาวิชาที่ศึกษา และเข้ารับการอบรมเข้มประสบการณ์ วิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เท่าของระยะเวลาการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร |
สถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอน | หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 กำหนดเปิดสอน ภาคต้น ปีการศึกษา 2565 |
การให้ปริญญา | ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว |
สถาบันผู้ประสาทปริญญา | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
ปรัชญาของหลักสูตร
| สารสนเทศศาสตร์มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการสารสนเทศและประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานสารสนเทศ มีจิตสำนึกของความเป็นพลเมืองดี สามารถสร้างสรรค์งานที่เกิดประโยชน์ต่อตนเอง องค์กร และสังคม มีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต และปฏิบัติงานตามกรอบมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพสารสนเทศ |
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | เพื่อผลิตบัณฑิตซึ่งมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1) มีความรู้ความสามารถในการจัดการสารสนเทศและประยุกต์ความรู้ด้านสารสนเทศศาสตร์ในการปฏิบัติงานสารสนเทศ 2) มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการสารสนเทศ 3) มีจรรยาบรรณวิชาชีพสารสนเทศ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต |
ระบบการศึกษา | จัดการศึกษาแบบเรียนทางไกล และออนไลน์ |
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ | กิจกรรมประจำชุดวิชา สอบไล่ |
–
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
| 1) ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการจัดการสารสนเทศ การบริการสารสนเทศ การจัดระบบสารสนเทศ และ งานสารสนเทศเฉพาะทาง ได้แก่ งานห้องสมุด งานศูนย์สื่อการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ งานสำนักงาน และงานสารสนเทศการท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรม 2) ผู้ประกอบวิชาชีพในตำแหน่งงานต่างๆ เช่น บรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ครู เลขานุการ เจ้าหน้าที่ บริหารงานทั่วไป ผู้จัดการเอกสารและสำนักงาน นักจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น 3) ผู้ประกอบวิชาชีพในตำแหน่งงานต่างๆ ที่ประยุกต์ความรู้ด้านสารสนเทศศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน |
–
PLOs
| PLO1 มีความรู้ความสามารถในการจัดการสารสนเทศและประยุกต์ความรู้ด้านสารสนเทศศาสตร์ในการปฏิบัติงานสารสนเทศ PLO2 มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการสารสนเทศ PLO3 สามารถประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการสารสนเทศ |
–
หลักสูตรระดับปริญญาโท
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร
ชื่อหลักสูตร
: หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์
: Master of Arts Program in Information Science
ชื่อเต็มปริญญาบัตร
: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์)
: Master of Arts (Information Science)
ชื่อย่อปริญญาบัตร
: ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์)
: M.A. (Information Science)
ประเภทของหลักสูตร | หลักสูตรปริญญาโททางวิชาการ |
จำนวนหน่วยกิต | รวมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 36 หน่วยกิต |
ระยะเวลาการศึกษา/วงรอบหลักสูตร | เป็นหลักสูตรระดับปริญญาโท (2 ปี) ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาโทแขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ |
สถานภาพของหลักสูตร | เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565 จากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) |
การให้ปริญญา | ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว |
สถาบันผู้ประสาทปริญญา | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
องค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐาน |
Purpose / Goals / Objectives | เป้าหมาย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ มุ่งจัดการศึกษาในระบบการเรียนการสอนทางไกล เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตสำหรับทุกคน และเพื่อให้เกิดความรู้รอบและเข้าใจสังคมวัฒนธรรมไทยในแง่มุมต่าง ๆ วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. มีความรู้ความสามารถระดับสูงในการจัดการสารสนเทศและบูรณาการสารสนเทศศาสตร์กับศาสตร์อื่น 2. มีความรู้ความสามารถระดับสูงในการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการสารสนเทศ 3. มีภาวะผู้นำ คุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต |
ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร Distinctive Features | การเรียนรู้ด้วยตนเองและการรู้สารสนเทศ |
ระบบการศึกษา | จัดการศึกษาแบบเรียนทางไกล และออนไลน์ |
–
อาชีพที่สามารถประกอบได้ | 1. ครู อาจารย์ นักวิชาการ 2. นักสารสนเทศ บรรณารักษ์ นักจัดการความรู้ 3. ผู้วิเคราะห์และจัดระบบสารสนเทศ ผู้แสวงหาและประเมินสารสนเทศ 4. ผู้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสารสนเทศ ผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์และบริการสารสนเทศ 5. ผู้บริหารองค์การสารสนเทศ ผู้บริหารระบบจัดการเนื้อหา ผู้บริหารระบบจัดการเอกสาร ผู้บริหารโครงการด้านสารสนเทศ |
การศึกษาต่อ | สามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาต่าง ๆ ได้ อาทิ สาขาภาษาไทย วรรณคดีไทย ภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา วรรณคดีเปรียบเทียบ นิเทศศาสตร์ ครุศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมศึกษา สหวิทยาการ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง |
ปรัชญาการศึกษา | หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการสารสนเทศ และประยุกต์สารสนเทศศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการสารสนเทศ เชื่อมโยง และบูรณาการสารสนเทศศาสตร์กับศาสตร์อื่นในการพัฒนาตนเอง องค์การ และสังคม มีภาวะผู้นำ คุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต |
กลยุทธ์ / แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน | 1) บรรยายเนื้อหาโดยกระตุ้นให้คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ในการเรียนการสอน เช่น การสอนเสริมประจำภาค การสอนเสริมนัดหมาย
2) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการเชิญวิทยากรมาบรรยายพิเศษ เช่น การอบรมเข้มเสริมประสบการณ์วิชาไทยคดีศึกษา 3) มอบหมายให้ทำกิจกรรมโดยเน้นการเรียนรู้พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติฝึกปฏิบัติ ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามคุณลักษณะของชุดวิชา 4) แนะนำแหล่งเรียนรู้และการสืบค้นความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองนอกเหนือจากการเนื้อหาสาระของเอกสารการสอนชุดวิชา |
กลยุทธ์ / แนวปฏิบัติ ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา | กิจกรรมประจำชุดวิชา สอบไล่ |
|
PLO 1 อภิปรายหลักการ ทฤษฎีและการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการขั้นสูงสำหรับองค์การสารสนเทศได้ PLO 2 ประยุกต์กระบวนการวิจัยและสถิติเพื่อการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ได้ PLO 3 ประยุกต์หลักการ ทฤษฎี และการวิจัยเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างสารสนเทศและการค้นคืนได้ PLO 4 ประยุกต์หลักการ เทคนิคและการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการสารสนเทศได้ PLO 5 ประยุกต์หลักการ ทฤษฎีและการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมสารสนเทศและการออกแบบบริการได้ PLO 6 ประยุกต์หลักการ เทคนิค และการจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้ PLO 7 ค้นคว้าและวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนางานสารสนเทศรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากการวิจัย |
หลักสูตรระดับปริญญาเอก
หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร
ชื่อหลักสูตร (ชื่อภาษาไทย) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ (ชื่อภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Information Science |
ชื่อปริญญา (ชื่อเต็มภาษาไทย) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์) (อักษรย่อภาษาไทย) ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์) (ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy (Information Science) (อักษรย่อภาษาอังกฤษ) Ph.D. (Information Science) |
ประเภทของหลักสูตร |
หลักสูตรระดับปริญญาเอก |
จำนวนหน่วยกิต |
แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต |
ระยะเวลาการศึกษา/วงรอบหลักสูตร |
มหาวิทยาลัยจัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งมี |
สถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอน |
เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560 จากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2552) เริ่มใช้ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป |
การให้ปริญญา |
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว |
สถาบันผู้ประสาทปริญญา |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
องค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐาน |
ปรัชญาของหลักสูตร |
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์มุ่งเน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพ ที่มีความรู้ ความสามารถระดับสูง ในการจัดการสารสนเทศ และประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการสารสนเทศ ด้วยกระบวนการวิจัย สามารถเชื่อมโยงและบูรณาการสารสนเทศศาสตร์กับศาสตร์อื่น แสวงหาและสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานสารสนเทศ องค์กร และสังคม มีภาวะผู้นำ คุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีความเป็นสากล |
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร |
เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตทางสารสนเทศศาสตร์โดยใช้ระบบการศึกษาทางไกลให้มีคุณลักษณะดังนี้ 1) มีความรู้ความสามารถระดับสูงในการจัดการสารสนเทศและประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการสารสนเทศด้วยกระบวนการวิจัย 2) มีความรู้ความสามารถระดับสูงในการเชื่อมโยงและบูรณาการสารสนเทศศาสตร์กับศาสตร์อื่น 3) มีความรู้ความสามารถแสวงหาและสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานสารสนเทศ องค์กร และสังคม 4) มีภาวะผู้นำ คุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีความเป็นสากล |
จัดการศึกษาแบบเรียนทางไกล และออนไลน์ หลักสูตร จํานวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรต้องศึกษาไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาสอดคล้องกับที่กําหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2558 ดังนี้ แบบ 2.1 ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต ก. หมวดวิชาเฉพาะ 3 ชุดวิชา (18 หน่วยกิต) ข. ดุษฎีนิพนธ์ (36 หน่วยกิต) ค. สัมมนาเข้มเสริมประสบการณ์ดุษฎีบัณฑิต (ไม่นับหน่วยกิต)
3.1.4 แผนการศึกษา แบบ 2.1
หมายเหตุ *นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนชุดวิชาสัมมนาเข้มเสริมประสบการณ์ดุษฎีบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์ ในภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนจบการศึกษาเท่านั้น คําอธิบายชุดวิชา 13901 มิติสารสนเทศศาสตร์ 6 (12-2-2-2) Information Science Perspectives คำอธิบายชุดวิชา แนวคิด ทฤษฎีและหลักการทางสารสนเทศและสารสนเทศศาสตร์ การประยุกต์และบูรณาการสารสนเทศศาสตร์กับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการสารสนเทศ บริการสารสนเทศ องค์การสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัล 13902 การวิจัยและระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางสารสนเทศศาสตร์ 6 (12-2-2-2) Research and Advanced Research Methodology in Information Science คำอธิบายชุดวิชา การวิจัยกับการสร้างองค์ความรู้ทางสารสนเทศศาสตร์ การสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง การออกแบบการวิจัยและการใช้สถิติขั้นสูงในการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ ประเด็นจริยธรรมการวิจัย การพัฒนาคุณภาพงานวิจัย และการบริหารโครงการวิจัย 13903 สัมมนาประเด็นการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ 6 (12-2-2-2) Seminar on Research Issues Related to Information Science คำอธิบายชุดวิชา การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์ประเด็นสำคัญในการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ และประเด็นการวิจัยที่จะจัดทำโครงการดุษฎีนิพนธ์ทางสารสนเทศศาสตร์ 13998 ดุษฎีนิพนธ์ (36 หน่วยกิต) Dissertation คำอธิบายชุดวิชา การกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย การวางแผนการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการวิจัย การจัดทำโครงการดุษฎีนิพนธ์ การสอบโครงการดุษฎีนิพนธ์ การสร้างเครื่องมือวิจัย การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนสรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะการวิจัย การเสนอร่างบทความการวิจัยสำหรับการเผยแพร่ การเขียนและเรียบเรียงรายงานการวิจัย และการนำเสนอรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์และการสอบป้องกัน ดุษฎีนิพนธ์ 13999 สัมมนาเข้มเสริมประสบการณ์ดุษฎีบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์ (ไม่นับหน่วยกิต) Doctoral Professional Experience in Information Science คำอธิบายชุดวิชา การบูรณาการความรู้ทางสารสนเทศศาสตร์ การพัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความสามารถในการตัดสินใจ และการแก้ปัญหา การวางแผนการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ในการสร้างเครือข่ายในระดับชาติและระดับสากล การพัฒนาภาวะผู้นำ สมรรถนะทางวิชาการและวิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาวิชาชีพสารสนเทศเพื่อสร้างสรรค์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม |
อาชีพสามารถประกอบได้ |
1) อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยด้านสารสนเทศศาสตร์ 2) นักวิชาชีพด้านสารสนเทศศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 3) ผู้บริหารองค์การสารสนเทศ |
องค์ประกอบ | ประเด็น | คุณลักษณะของบัณฑิต |
มีคุณธรรม จริยธรรม | 1.1 มีความซื่อสัตย์ สุจริต | มีวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม |
1.2 มีความขยันหมั่นเพียร | ||
1.3 มีความพอเพียงและมีวินัย | ||
1.4 มีวัฒนธรรม คุณธรรม และศีลธรรม | มีวัฒนธรรม คุณธรรม และศีลธรรม | |
1.5 มีจรรยาบรรณวิชาชีพ | มีจริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพและเจตคติที่ดี | |
มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ | 1.1 มีความรอบรู้ในศาสตร์ที่ศึกษา | มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการและทฤษฎีทางสารสนเทศศาสตร์ |
2.2 มีความรู้รอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง | บูรณาการความรู้ทางสารสนเทศศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง | |
2.3 มีความสามารถในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ | มีความสามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ทางสารสนเทศ-ศาสตร์ | |
2.4 มีความสามารถในการประยุกต์ | มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางสารสนเทศ-ศาสตร์สู่การปฏิบัติ | |
มีความสามารถในการสร้างสรรค์ทางวิชาการ | ||
คิดเป็น แก้ปัญหาได้ | 3.1 มีทักษะในการคิดเชิงระบบ | มีความสามารถในการจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ |
3.2 มีทักษะในการตัดสินใจและแก้ปัญหา | มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อแก้ปัญหาและตัดสินใจ | |
มีความสามารถในการค้นคว้า วิเคราะห์ ตีความและประเมินสารสนเทศ เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม | ||
3.3 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ | มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ | |
3.4 ใช้ความรู้สู่การปฏิบัติ | มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางสารสนเทศศาสตร์ สู่การปฏิบัติ | |
มีความรับผิดชอบ | 4.1 มีความรับผิดชอบต่อตนเอง | มีความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กร วิชาชีพ สิ่งแวดล้อม และสังคม |
4.2 มีความรับผิดชอบต่อองค์กร | ||
4.3 มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมทุกระดับ | ||
4.4 มีจิตสาธารณะ | มีจิตสาธารณะ | |
มีมนุษยสัมพันธ์ดี | 5.1 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น | มีภาวะความเป็นผู้นำและความสามารถในการทำงาน เป็นทีม |
5.2 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ | ||
5.3 เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี | ||
มีความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม | 6.1 มีทักษะการสื่อสารที่ดี | มีความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน |
6.2 มีทักษะในการใช้ภาษา | ||
6.3 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | มีความสามารถในการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม | |
6.4 มีความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์และนำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์ | มีความสามารถในการสรุป วิเคราะห์ แปลความหมายและนำเสนอ | |
ทักษะการศึกษาทางไกล และสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง | 7.1 มีความสามารถในการศึกษาด้วยตนเอง | มีทักษะและความสามารถในการศึกษาด้วยตนเอง ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง |
7.2 ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง | ||
7.3 มีความมุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียร | มีวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร |
PLO 1 อภิปรายหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ รวมทั้งบูรณาการสารสนเทศศาสตร์กับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องได้ PLO 2 วิจัย สังเคราะห์และสร้างองค์ความรู้ทางสารสนเทศศาสตร์ได้ PLO 3 วิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์ประเด็นสำคัญในการวิจัยทางสารสนเทศได้ PLO 4 ค้นคว้าและวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนางานสารสนเทศ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากการวิจัยได้ PLO 5 วิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการ ทฤษฎี และหลักการทางสารสนเทศศาสตร์ เพื่อการตัดสินใจและการแก้ปัญหาได้ |