หลักสูตรระดับปริญญาตรี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาภาษาอังกฤษ
ชื่อหลักสูตร
- (ชื่อภาษาไทย) ศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาภาษาอังกฤษ
- (ชื่อภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts Program in English
ชื่อปริญญาและแขนงวิชา
- ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)
- (อักษรย่อภาษาไทย) ศศ.บ. (ภาษาอังกฤษ)
- (ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ) Bachelor of Arts (English)
- (อักษรย่อภาษาอังกฤษ) B.A. (English)
ประเภทของหลักสูตร | หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ |
จำนวนหน่วยกิต | รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต |
ระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร | เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี (4 ปี) ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ |
สถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอน | เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565 จากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) เริ่มใช้ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป |
การให้ปริญญา | ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว |
สถาบันผู้ประสาทปริญญา | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
ปรัชญาของหลักสูตร | หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาภาษาอังกฤษเน้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองในระบบการศึกษาทางไกลโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษพัฒนาตนเองและอาชีพอย่างต่อเนื่อง สนใจใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต มีคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้หลักสูตรยังเน้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 เพื่อตอบสนองต่อกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2560 และกรอบมาตรฐานสากลที่ใช้อธิบายระดับความเชี่ยวชาญทางภาษา (Common European Framework of Reference for Languages- CEFR) ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรปและมีการยอมรับเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก |
เป้าหมาย ปัจจุบันภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญในการสื่อสาร แสวงหาความรู้ และดำเนินกิจกรรมในระดับนานาชาติ รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาสังคมเชิงรุกด้านศักยภาพคนและการศึกษาเพื่อเพิ่มมาตรฐานวิชาชีพและทักษะที่จำเป็นให้กับทรัพยากรบุคคลของชาติทุกระดับให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ หลักสูตรระดับปริญญาตรีแขนงวิชาภาษาอังกฤษในระบบการศึกษาทางไกลจึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษโดยสามารถศึกษาควบคู่กับการทำงาน หลักสูตรนี้จัดโครงสร้างทางวิชาการแบบบูรณาการที่ผสมผสานเนื้อหาวิชาการและทักษะภาษาอังกฤษ ตลอดจนเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางไกลและออนไลน์ วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตซึ่งมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1) มีความรู้ความสามารถและทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษตาม มคอ. 1 2) มีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพการใช้ภาษาอังกฤษ 3) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 4) มีความสามารถในการศึกษาด้วยตนเองและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
| |
ระบบการศึกษา | เป็นหลักสูตรทางด้านภาษาอังกฤษที่มีการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์สมบูรณ์แบบ |
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ | จัดการศึกษาแบบเรียนทางไกล โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก |
1) บรรยายเนื้อหาโดยกระตุ้นให้คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ในการเรียนการสอน เช่น การสอนเสริมประจำภาค การสอนเสริมนัดหมาย
2) จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการเชิญวิทยากรมาบรรยายพิเศษ เช่น การอบรมเข้มเสริมประสบการณ์วิชาไทยคดีศึกษา
3) มอบหมายให้ทำกิจกรรมโดยเน้นการเรียนรู้พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติฝึกปฏิบัติ ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามคุณลักษณะของชุดวิชา
4) แนะนำแหล่งเรียนรู้และการสืบค้นความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองนอกเหนือจากการเนื้อหาสาระของเอกสารการสอนชุดวิชา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
การศึกษาต่อ | ครูสอนภาษาอังกฤษ นักธุรกิจ นักคอมพิวเตอร์ พนักงานโรงแรม ช่าง เจ้าหน้าที่สำนักงาน ผู้ทำงานด้านการท่องเที่ยว ด้านสาธารณสุข ด้านการเกษตร ด้านกฎหมาย ด้านการแปลและล่าม และผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน สามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาต่าง ๆ ได้ อาทิ สาขาภาษาไทย วรรณคดีไทย ภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา วรรณคดีเปรียบเทียบ นิเทศศาสตร์ ครุศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมศึกษา สหวิทยาการ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
สามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาต่าง ๆ ได้ อาทิ ภาษาอังกฤษศึกษา ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ คติชนวิทยา วรรณคดีเปรียบเทียบ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง |
–
PLOs | PLO 1 ใช้ทักษะภาษาอังกฤษด้านฟัง พูด อ่าน เขียน เทียบเท่าช่วงระดับ B2-C1 (Proficient User) ตามมาตรฐานสากล Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) PLO 2 วิเคราะห์และประยุกต์ใช้ความรู้ แนวคิด หลักการ และทฤษฎีต่างๆทางด้านภาษาอังกฤษ ได้แก่ ทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาศาสตร์ วรรณคดี และการแปล เพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ ตลอดจนบูรณาการความรู้ภาษาอังกฤษกับศาสตร์อื่นๆ PLO 3 ประยุกต์ใช้การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) และความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัล (Digital Literacy) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางภาษาอังกฤษที่ทันสมัยและสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning) ของตนเองเพื่อมุ่งสู่การเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship) PLO 4 แสดงคุณลักษณะของผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และจิตสาธารณะในการดำรงชีวิต การทำงาน และการนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม |
–