คำถามถามบ่อย

ระดับปริญญาตรี (Bachelor's Degree)

ดูรายละเอียดการสมัครได้ที่ กำหนดการรับสมัครนักศึกษา มสธ.

 องค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ภาคสนาม (การฝึกงาน หรือฝึกปฏิบัติเสริมทักษะวิชาชีพ หรือสหกิจศึกษา) ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์นั้น ไม่มีองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ภาคสนามโดยเฉพาะ แต่มีการจัดฝึกปฏิบัติโดยรวมตลอดหลักสูตร ในการเรียนการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพสารสนเทศศาสตร์

ไทยคดีศึกษาเรียนเกี่ยวกับอะไร
      หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา มีเนื้อหาบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้เรื่องไทยในมิติต่างๆ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ สังคม ภาษา และวัฒนธรรม จนสามารถนำความรู้เหล่านี้มาวิเคราะห์และวิพากษ์สังคมและวัฒนธรรมไทยได้อย่างมีเหตุผล

ผู้สนใจสมัครเรียนในหลักสูตรต้องมีวุฒิอะไร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา รับผู้จบการศึกษาตั้งแต่ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ต้องมีประสบการณ์การทำงาน ไม่น้อยกว่า 5 ปี) มัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับอนุปริญญา เข้าศึกษาในหลักสูตรฯ โดยแบ่งเป็น คือ 

    • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา 4 ปี สำหรับผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
    • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา 2 ปี สำหรับผู้จบการศึกษาระดับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือระดับอนุปริญญา

การสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรต้องมีพื้นฐานทางด้านใด
      ผู้สนใจเข้าสมัครในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในด้านใดด้านหนึ่งเฉพาะทาง เพียงแต่ควรเป็นผู้มีความสนใจและต้องการศึกษาด้านประวัติ สังคม ภาษา วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย รวมถึงเรื่องของไทยในปัจจุบัน

ไม่ชอบท่องจำ เรียนไทยคดีศึกษาได้หรือไม่
      หลักสูตรไทยคดีศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมไทย ดังนั้นเนื้อหาในหลักสูตรจึง
ไม่มุ่งเน้นการท่องจำ

เรียนจบในหลักสูตรนี้แล้วสามารถศึกษาในระดับที่สูงขึ้นได้หรือไม่
ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งในสาขาวิชาไทยคดีศึกษาที่ปัจจุบันในหลายมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก รวมถึงสามารถศึกษาต่อในสาขาวิชาอื่นๆ เช่น วัฒนธรรมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ เป็นต้น

เรียนจบไทยคดีศึกษาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง
ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น นักวัฒนธรรม ครู อาจารย์ (ทางด้านภาษาไทย สังคม หรือประวัติศาสตร์) รวมถึงสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาชีพที่ทำอยู่ เช่น มัคคุเทศก์ นักโบราณคดี นักภาษาโบราณ เป็นต้

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาภาษาอังกฤษ   สาขาวิชาศิลปศาสตร์

1. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาภาษาอังกฤษมีอะไรบ้าง
ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาวุฒิการศึกษาใดวุฒิการศึกษาหนึ่ง ดังนี้
     1)  สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และประกอบอาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีศึกษานับถึงวันหลังสำเร็จการเปิดภาคการศึกษาที่สมัคร หรือ
     2) สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการ
รับรอง โดยมีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันเปิดภาคการศึกษาที่สมัคร หรือ
     3)  สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และผ่านการอบรมหลักสูตร                                        ระดับประกาศนียบัตรที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
    4) สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 6) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
    5) สำเร็จการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า หรือปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

 ผู้มีคุณสมบัติวุฒิการศึกษาดังกล่าวข้างต้น จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างดี หลักสูตรที่มีระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต e-Learning และซีดีรอมเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ภาษาไทย อ่านออกและเขียนได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก
                   1)  ต้องศึกษาชุดวิชาหลักการแปล และทักษะการแปลภาษาอังกฤษ ซึ่งมีกิจกรรมการแปลข้อความเป็นภาษาไทยที่ถูกต้อง สละสลวย
                   2)  สื่อในการเรียนการสอน (Medium of instruction) ใช้ภาษาไทย

 

2. การลงทะเบียนเรียนชุดวิชาต่างๆในหลักสูตรมีรายละเอียดที่ควรพิจารณาอะไรบ้าง

นักศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาภาษาอังกฤษ ที่ลงทะเบียนเรียนชุดวิชา ดังนี้
  14111 ทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง                  14216 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
*14212 ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร                     14317 การอ่านภาษาอังกฤษ 2
  14213 การอ่านภาษาอังกฤษ 1                                            14318 หลักการแปล
  14214 การเขียนภาษาอังกฤษ 1                                         *14319 ทักษะการแปลภาษาอังกฤษ
  14215 ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น                           14320 การออกเสียงภาษาอังกฤษ
  14421 การเขียนภาษาอังกฤษ 2                                         *14422 การนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิผล
  14423 ประสบการณ์วิชาชีพภาษาอังกฤษ
ขอให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนตามระยะเวลาและแผนการศึกษาที่กำหนด เนื่องจากเป็นชุดวิชาที่ต้องใช้สื่ออินเทอร์เน็ตในการฝึกปฏิบัติออนไลน์ ชุดวิชาดังกล่าวไม่อนุญาตให้ลงทะเบียนเรียนเป็นชุดวิชาเลือกเสรีสำหรับนักศึกษาทุกสาขาวิชาและไม่อนุญาตให้นักศึกษาเพิ่มชุดวิชา ลงทะเบียนล่าช้า และไม่อนุญาตให้นักศึกษาเรือนจำลงทะเบียนเรียน แต่อนุญาตให้นักศึกษาพิการที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ลงทะเบียนเรียนได้
          นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาดังกล่าวข้างต้น (ยกเว้นชุดวิชาที่มีเครื่องหมายดอกจัน)จะได้รับคู่มือการศึกษา ขอให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาวิชาและทำกิจกรรมภาคปฏิบัติในเว็บไซต์ http://d4lp.stou.ac.th โดยไม่ต้องรอรับคู่มือการศึกษาก่อน
 นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนชุดวิชาต่อไปนี้

 –   ชุดวิชา 14111 ทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง มีการเรียนการสอนออนไลน์ ให้เร่งเข้าลงทะเบียนเรียนออนไลน์ทันที ที่เว็บไซต์ http://d4lp.stou.ac.th
 –   ชุดวิชา 14212 ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร นักศึกษาจะได้รับซีดีมัลติมีเดียประจำชุดวิชา แทนคู่มือการศึกษา และทำกิจกรรมส่งทางเว็บไซต์ http://moodle.stou.ac.th 
 –   ชุดวิชา 14422 การนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิผล นักศึกษาจะได้รับซีดีมัลติมีเดียประจำชุดวิชา แทนคู่มือการศึกษา มีการทำกิจกรรมส่งทางเว็บไซต์ http://moodle.stou.ac.th 
 –   ชุดวิชา 14319 ทักษะการแปลภาษาอังกฤษ มีเอกสารการสอนและทำกิจกรรมฝึกปฏิบัติ (บังคับ 60 คะแนน) ส่งทางเว็บไซต์ http://moodle.stou.ac.th 

3. ชุดวิชาต่างๆที่มีการเรียนการสอนออนไลน์ เปิดการเรียนการสอนในภาคใด และมีรายละเอียดการทำกิจกรรมประจำชุดวิชาอะไรบ้าง
     ชุดวิชาต่างๆในหลักสูตรต่อไปนี้เป็นชุดที่มีการเรียนการสอนออนไลน์

ภาค 1

ภาค 2

ภาค 1/2

14212 ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

14215 ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษเบื้องต้น

14317 การอ่านภาษาอังกฤษ 2

14318 หลักการแปล

14422 การนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิผล

14213 การอ่านภาษาอังกฤษ 1

14214 การเขียนภาษาอังกฤษ 1

14216 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

14319 ทักษะการแปลภาษาอังกฤษ*

14111 ทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง (นักศึกษาควรต้องลงทะเบียนวิชานี้ก่อนชุดวิชาที่มีการเรียนการสอนออนไลน์อื่นๆ)

14320 การออกเสียงภาษาอังกฤษ

14423 ประสบการณ์วิชาชีพภาษาอังกฤษ **

* (เป็นชุดวิชาที่มีการบังคับทำแบบฝึกปฎิบัติจัดส่งทางออนไลน์ 60 คะแนน และคะแนนสอบปลายภาค      40 คะแนน)
** (เป็นชุดวิชาที่มีการบังคับเข้าร่วมอบรมประสบการณ์วิชาชีพ 60 คะแนน และคะแนนสอบปลายภาค      40 คะแนน)
 ชุดวิชาที่มีการเรียนการสอนออนไลน์แต่ละชุดวิชาได้กำหนดคะแนนกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 40 คะแนน และคะแนนสอบปลายภาค 60 คะแนน

4. การลงทะเบียนเรียนออนไลน์ต้องทำอย่างไร
        นักศึกษาที่สมัครเรียนในชุดวิชาข้างต้นในภาคการศึกษาที่ 1  ต้องลงทะเบียนเรียนออนไลน์ก่อนการเปิดภาคการศึกษาในวันที่ 15 กันยายน ก่อนเปิดภาคการศึกษาที่ 1 และนักศึกษาที่สมัครเรียนในชุดวิชาข้างต้นในภาคการศึกษาที่ 2  ต้องลงทะเบียนเรียนออนไลน์ก่อนการเปิดภาคการศึกษาที่ 2 ในวันที่ 15 มีนาคม   

เมื่อลงทะเบียนเรียนชุดวิชาต่างๆในหลักสูตรนี้แล้ว ขอให้ปฏิบัติดังนี้ทันที          

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.d4lp.stou.ac.th  หรือ http://moodle.stou.ac.th (เฉพาะชุด 14319 และ 14422) และลงทะเบียน (ใส่รหัสนักศึกษาในช่อง Member ID และ Password) 
2. อ่านประกาศ (Announcement) ในเว็บไซต์ข้างต้น เพื่อตรวจสอบกำหนดเวลาเรียนและกำหนดส่งกิจกรรมประจำชุดวิชา
3. ศึกษาวิธีการศึกษาในคู่มือการศึกษาแต่ละชุดวิชาโดยละเอียด
หมายเหตุ:
1) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนชุดวิชานี้ได้ที่ B.A. Discussion Forum ของเว็บไซต์สาขาวิชาศิลปศาสตร์ หรือที่กระดานสนทนาของชุดวิชา
2) สอบถามปัญหาทางเทคนิค ที่ศูนย์ eLearning โทร 02 5047417 (ในเวลาราชการ)

5. แนวทางการประเมินผลชุดวิชามีอะไรบ้าง              

การประเมินผลชุดวิชา  แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้
(๑) ชุดวิชาที่มีการประเมินผลแบบรวมคะแนนกิจกรรมชุดวิชากับคะแนนสอบปลายภาค  แบ่งเป็น      ๒ ลักษณะดังนี้
         (ก) ชุดวิชาที่นักศึกษาสามารถเลือกทำกิจกรรมชุดวิชา มีหลักเกณฑ์การประเมินผลดังนี้
               ๑)  กรณีนักศึกษาทำกิจกรรมชุดวิชา มหาวิทยาลัยจะนำคะแนนสอบปลายภาครวมกับคะแนนกิจกรรมมาเปรียบเทียบกับการคิดคะแนนสอบปลายภาคเพียงอย่างเดียว แล้วนำคะแนนส่วนที่มากกว่าไปใช้ในการตัดสินผลการสอบ  กรณีนักศึกษาทำกิจกรรมแล้วสอบไล่ไม่ผ่านให้นำคะแนนกิจกรรมชุดวิชาไปรวมกับคะแนนสอบซ่อมของภาคการศึกษานั้น
               ๒) กรณีนักศึกษาไม่ทำกิจกรรมชุดวิชา ให้ตัดสินผลการสอบจากคะแนนสอบเพียงอย่างเดียวทั้งการสอบไล่และการสอบซ่อมของภาคการศึกษานั้น 
        (ข) ชุดวิชาที่นักศึกษาต้องทำกิจกรรมชุดวิชา มีหลักเกณฑ์การประเมินผลดังนี้
               ๑) เกณฑ์การสอบผ่าน นักศึกษาต้องได้คะแนนสอบปลายภาครวมกับคะแนนกิจกรรมชุดวิชา ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ จึงจะถือว่าสอบผ่าน  
               ๒) กรณีผลคะแนนกิจกรรมชุดวิชาและคะแนนสอบปลายภาครวมกันแล้วไม่ผ่าน มหาวิทยาลัยจะเก็บคะแนนของส่วนที่ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ นั้นไว้จนกว่าจะสอบผ่าน ยกเว้นกรณีที่มีการประกาศใช้เอกสารการสอนฉบับปรับปรุง นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ เพื่อทำกิจกรรมชุดวิชาและเข้าสอบปลายภาคทั้งสองส่วนใหม่
              ๓) กรณีนักศึกษาสอบไล่ไม่ผ่าน ให้นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อม เพื่อเข้าสอบซ่อมหรือทำกิจกรรมชุดวิชาเฉพาะในส่วนที่ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ ๖๐  แล้วนำคะแนนที่ได้นั้นมารวมกับคะแนนส่วนที่มหาวิทยาลัยเก็บไว้
              ๔) กรณีนักศึกษาสอบซ่อมไม่ผ่าน นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนชุดวิชานั้นใหม่เพื่อเข้าสอบหรือทำกิจกรรมชุดวิชาเฉพาะในส่วนที่ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ ๖๐ จนกว่าจะสอบผ่าน
 (๒) ชุดวิชาที่มีการประเมินผลแบบแยกคะแนนกิจกรรมชุดวิชากับคะแนนสอบปลายภาค  มีหลักเกณฑ์การประเมินผลดังนี้
       (ก) เกณฑ์การสอบผ่าน นักศึกษาต้องได้คะแนนสอบปลายภาคไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ และคะแนนกิจกรรมชุดวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ จึงจะถือว่าสอบผ่าน 
       (ข) กรณีนักศึกษาสอบไม่ผ่าน  มหาวิทยาลัยจะเก็บเฉพาะคะแนนของส่วนที่ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ นั้นไว้จนกว่าจะสอบผ่าน ยกเว้นกรณีที่มีการประกาศใช้เอกสารการสอนฉบับปรับปรุง นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ เพื่อทำกิจกรรมชุดวิชาและเข้าสอบปลายภาคทั้งสองส่วนใหม่ 
       (ค) กรณีนักศึกษาสอบไล่ไม่ผ่าน ให้นักศึกษาลงทะเบียนสอบซ่อม เพื่อเข้าสอบซ่อมหรือทำกิจกรรมชุดวิชาเฉพาะในส่วนที่ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ ๖๐ 
       (ง) กรณีนักศึกษาสอบซ่อมไม่ผ่าน นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนชุดวิชานั้นใหม่เพื่อเข้าสอบหรือทำกิจกรรมชุดวิชาเฉพาะในส่วนที่ได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ ๖๐ จนกว่าจะสอบผ่าน

6. คำถามที่ถามบ่อยสำหรับชุดวิชา 14111 ทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง
      http://stouonline.stou.ac.th/elearning/courses/14111/main/index.asp?w=pages&r=0&pid=18 
Q: ในโมดูลที่ 8 ถ้านักศึกษาตอบเป็นภาษาไทยจะได้คะแนนน้อยกว่าตอบเป็นภาษาอังกฤษหรือไม่คะ
A: การให้คะแนนอยู่ที่เนื้อหาสาระ หากนักศึกษาตอบตรงประเด็น ครบถ้วน และสื่อความหมายที่ต้องการได้ จะตอบเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้ค่ะ ไม่ได้เน้นเรื่องไวยากรณ์มากนัก ตราบใดที่สามารถสื่อสารให้ครูเข้าใจได้  อีกประการหนึ่งคือ ควรมีเนื้อหาพอสมควร เนื่องจากงานนี้มีคะแนนถึง 20 คะแนน ถ้าเขียนมาแค่ไม่กี่บรรทัด ก็คงไม่เหมาะนะคะ ขอให้เขียนเหมือนบันทึกการเรียนรู้ของเราโดยเน้นการตอบคำถามทั้ง 6 ข้อให้ครบถ้วนทุกประเด็นน่ะค่ะ
ข้อแนะนำการทำโมดูลที่ 8
ในโมดูลที่ 8  นักศึกษาจะต้องเขียนบันทึกเกี่ยวกับการเรียนที่ผ่านมา โดยเฉพาะในโมดูลที่ 5-7 โดยการตอบคำถามที่กำหนดให้ ทั้งนี้ นักศึกษาจะต้องตอบให้ครบถ้วนและตรงประเด็นดังนี้
ข้อ 1  ต้องระบุจุดอ่อนและจุดแข็งในการเรียนให้ชัดเจน พร้อมทั้งระบุสิ่งที่คิดว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุดซึ่งไม่น่าจะมีหลายประการนัก หากคิดว่าตนเองไม่มีจุดแข็ง ก็ต้องเขียนลงไปด้วย มิฉะนั้นจะถือว่าตอบไม่ครบถ้วน
ข้อ 2   ให้ระบุสิ่งที่ได้ทำไปเพื่อเอาชนะจุดอ่อนหรือสิ่งท้าทายที่ระบุในข้อ 1  สิ่งที่เขียนควรสอดคล้องกับข้อ 1 และเป็นสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่คิดว่าจะทำ
ข้อ 3  ต้องการให้นักศึกษาประเมินเว็บไซต์ที่แนะนำในแต่ละโมดูลว่าอันไหนมีประโยชน์สำหรับนักศึกษามากที่สุดและมีประโยชน์ทางไหนอย่างไร ให้กล่าวถึงเฉพาะเว็บไซต์ที่ให้ไว้ นอกจากว่าไม่ได้ศึกษาจากเว็บไซต์ที่กำหนดเลย ก็ต้องเขียนอธิบายไว้ด้วย นอกจากนี้ ไม่ให้ copy เฉพาะเว็บไซต์มาใส่ โดยไม่มีคำอธิบาย จะถูกหักคะแนน
ข้อ 4 ให้ระบุเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกสรรข้อมูลที่นำมาใช้อ้างอิงในเรื่องที่เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือและจริยธรรม  เรื่องของจริยธรรมที่สำคัญคือ จะต้องไม่คัดลอกงานของผู้อื่นมาโดยไม่อ้างอิง ซึ่งเรื่องนี้นักศึกษาหลายต่อหลายคนในรุ่นที่ผ่านๆมาละเลยที่จะกล่าวถึง 
ข้อ 5 ให้อธิบายกลวิธีการอ่านที่ใช้บ่อยที่สุดในการเรียนและใช้วิธีไหนอย่างไร
ข้อ 6  ให้ระบุว่าในครึ่งหลังของการเรียน นักศึกษาวางแผนที่จะปรับปรุงการเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไร
นักศึกษาต้องตอบให้ครบถ้วนทุกประเด็นในทั้ง 6 ข้อ จึงจะได้คะแนนเต็ม ทั้งนี้ เกณฑ์การให้คะแนนจะไม่ได้เน้นที่ไวยากรณ์มากนัก ตราบใดที่นักศึกษาสามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ใช้ภาษาได้ดีย่อมได้เปรียบอยู่แล้ว เพียงแต่หากบกพร่องทางด้านไวยากรณ์ไปบ้าง ก็ยังมีสิทธิได้คะแนนเต็ม 
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ขอเน้นตรงนี้คือ ผู้ที่คัดลอกข้อความมาจากเว็บไซต์ จะถูกหักคะแนนไปตามสัดส่วนของการลอก แต่หากพบว่าลอกงานกัน จะถูกปรับคะแนนเป็น 0 ทั้งคู่

7.  คำถามถามบ่อยชุดวิชา 14216 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
Q: เหตุใดจึงยังไม่ทราบรายชื่อสมาชิกในการทำกิจกรรมกลุ่มออนไลน์ 
A:  นักศึกษาจะสามารถทราบรายชื่อสมาชิกในกลุ่มได้หลังจากส่งงานครั้งที่1แล้ว โดยระบบจะจัดกลุ่มได้อัตโนมัติ 
Q: จะได้รับแนวตอบกิจกรรมออนไลน์เมื่อใด 
A:  นักศึกษาจะได้รับแนวตอบกิจกรรมเมื่อมีการตรวจให้คะแนนกิจกรรมเรียบร้อยแล้วบนกระดานสนทนา 
Q: เหตุใดจึงได้รับคะแนนกิจกรรมออนไลน์เพียง 0.8 จากคะแนนเต็มแม้ว่าจะส่งงานกิจกรรมออนไลน์ครบตามกำหนดส่ง 
A:คะแนนที่ปรากฏยังไม่ใช่คะแนนที่ได้รับ กำลังดำเนินการตรวจให้คะแนน 
Q: หากไม่สามารถติดต่อสมาชิกเพื่อทำกิจกรรมออนไลน์กลุ่มได้แต่ใกล้ถึงกำหนดส่งแล้ว จะสามารถส่งงานโดยไม่มีสมาชิกร่วมทำกิจกรรมครบทั้งหมดได้หรือไม่ 
A: หากพยายามติดต่อสมาชิกกลุ่มแล้วไม่สามารถติดต่อได้ นักศึกษาที่มีส่วนร่วมสามารถส่งงานได้โดยไม่ต้องรอให้จำนวนสมาชิกครบตามกำหนดส่ง 
Q:  หากส่งกิจกรรมออนไลน์ครบทุกงานเหตุใดปุ่มสีเขียวไม่มีการเปลี่ยนแปลง 
 A: สาเหตุมาจากชุดวิชาฯมีงานกิจกรรมออนไลน์เฉพาะงานที่1และ4  ไม่ครบจำนวนตามที่ระบบออกแบบไว้ทั้งหมด 4 ครั้ง

Q: ดิฉันได้ส่งงานทุกชิ้น แต่เพิ่งมาสังเกตเห็นว่า พอส่งงานแต่ละโมดูลไปแล้ว ทำไม ปุ่มไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียวคะ มีอะไรผิดพลาดไหม
A: ตามที่ตรวจสอบกับ Admin ศูนย์ eLearning แล้วนั้น พบว่าสาเหตุมาจากการที่ชุดวิชานี้กำหนดให้นศ.ทำงานเฉพาะงานที่ 1 และ 4 ซึ่งไม่ได้ครบตามที่ระบบออกแบบไว้คือการทำงานทุกงาน (1-4) การแสดงสีและเครื่องหมายจึงไม่เป็นไปตามปกติ

8.  ปฐมนิเทศชุดวิชาและคำถามที่ถามบ่อยชุดวิชา 14213 การอ่านภาษาอังกฤษ 1
      http://stouonline.stou.ac.th/elearning/courses/14213/main/index.asp?w=pages&r=0&pid=4

9.  คำถามที่ถามบ่อยสำหรับชุดวิชา 14423 ประสบการณ์วิชาชีพภาษาอังกฤษ 
       http://www.stou.ac.th/Offices/Oaa/OaaOldPage/Professional/Train_Professional/oaaInfo/oaa/Dept/Dept05/TrainingSchedule/faqs.asp

ระดับปริญญาโท (Master’s Degree)

ดูรายละเอียดการสมัครได้ที่ กำหนดการรับสมัครนักศึกษา มสธ.

  • ต้องตรวจสอบไปยังสาขาวิชาว่ามีการจัดสัมมนาไปแล้วหรือยัง ยังสามารถลงทะเบียนเรียนได้หรือไม่
  • หากสาขาวิชายังไม่จัดสัมมนาและ อนุญาตให้ลงทะเบียนได้ ให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนพร้อมชำระค่าปรับลงทะเบียนเรียนล่าช้า
  • ตรวจสอบกับงานทะเบียนว่าข้อมูลครบถ้วนหรือไม่ หากเรียบร้อยแล้วให้ประสานสาขาวิชาเพื่อแจ้งชื่อเพิ่มในการเข้าร่วมสัมมนา

ตอบ: การลงทะเบียนเรียน วิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ แต่หากเทอมก่อนหน้านั้นไม่ได้ลงทะเบียนเรียนไม่ต้องรอเกรดให้ยึดกำหนดการลงทะเบียนเรียนตามปกติ

ตอบ : จำเป็นค่ะ  และกรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถเข้าได้ ต้องมีหนังสือแจ้งเหตุผลและหลักฐาน (ถ้ามี)

ตอบ: https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/

– ภาคต้น             5 ก.ย. – 28 ก.พ. ของทุกปี

– ภาคปลาย          15 มี.ค. – 31 ส.ค. ของทุกปี

 – ภาคพิเศษ          15 ส.ค. – 31 ต.ค. ของทุกปี

ตอบ: https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/masters/M1.htm  อาจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบออนไลน์ไหมคะ

ตอบ:  กรณีนำเสนอผลงานวิชาการ หลักฐานแสดงการเผยแพร่ผลงานจากหน่วยงาน/สถาบันที่จัดการประชุม Proceedings ฉบับเต็มในรูปเอกสาร Link หรือไฟล์เอกสาร และแนบแบบฟอร์มการส่งหลักฐานเผยแพร่

            กรณีเผยแพร่ทางวารสาร ใช้หลักฐานอะไรบ้าง

            – กรณีที่วารสารทางวิชาการยังอยู่ระหว่างดำเนินการจัดพิมพ์ ให้นักศึกษาส่งสำเนาบทความจากวิทยานิพนธ์

ที่ระบุชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรก และตามด้วยชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาหลักและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม พร้อมใบตอบรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานจากวิทยานิพนธ์ที่ลงนามโดยบรรณาธิการ ระบุชื่อวารสาร ปี และเล่มที่ที่จะตีพิมพ์

            – กรณีเป็นวารสารฉบับจริง ให้ส่งวารสารฉบับจริง

(เกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการ ฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 สำหรับนักศึกษาปริญญาโท) ในการส่งหลักฐานเผยแพร่ผลงานเพื่อเป็นหลักฐานแสดงการตีพิมพ์เผยแพร่ ต้องมีแบบฟอร์มการส่งหลักฐานเผยแพร่ สามารถดูข้อมูลได้ที่ http://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/masters/M3.htm 

หรือติดต่อฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานบัณฑิตศึกษา โทร.025047568-9

ระดับระดับปริญญาเอก (Doctor’s Degree)

ดูรายละเอียดการสมัครได้ที่ กำหนดการรับสมัครนักศึกษา มสธ.